เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 อธิบาย
ว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้น อันพระโยคาวจรพึงเห็นแจ้ง โดยการเข้า
ไปกำหนดหมายวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งการรอบรู้ ด้วยญาตปริญญา
เป็นต้น.
บทว่า ทิฏฐา ยถาถูตํ ความว่า เห็นแล้วโดยไม่ผิดพลาด โดย
นัยมีอาทิว่า นี่ทุกข์ ดังนี้ ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.
บทว่า ภวา สพฺเพ ปทาลิตา ความว่า กรรมภพ และอุบัติภพ
ทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น อันเราทำลายแล้ว คือกำจัดแล้ว ด้วยศาสตราคือ
มรรคญาณ. อธิบายว่า กรรมภพ และอุบัติภพ ย่อมชื่อว่า เป็นอันเราทำ
ลายแล้ว ด้วยการทำลายกิเลสได้ นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า
ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้. ความของคาถานั้น ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปวิฏฐเถรคาถา

8. อัชชุนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ


[225] ได้ยินว่า พระอัชชุนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ
พระนิพพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว
ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ ทั้ง-
หลายแล้ว.

อรรถกถาอัชชุนเถรคาถา


คาถาของท่านพระอัชชุนเถระ เริ่มต้นว่า อสกฺขึ วต อตฺตานํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิด
ในกำเนิดราชสีห์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่งในป่า คิดว่า พระ
ศาสดาพระองค์นี้แล เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เป็นบุรุษผู้สีหะในกาลนี้
ดังนี้แล้ว เป็นผู้มีใจเลื่อมใส หักกิ่งรังที่มีดอกบานสะพรั่ง แล้วบูชาพระศาสดา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลเศรษฐี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อัชชุนะ. เขาถึงความ
เป็นผู้รู้แล้ว เป็นผู้มีความสนิทสนมกับพวกนิครนถ์ บวชใน (ลัทธิ) นิครนถ์
แต่ในเวลาที่ยังเล็กอยู่นั่นแล ด้วยคิดว่า เราจักบรรลุอมตธรรมด้วยอุบายอย่างนี้
เมื่อไม่ได้สาระในลัทธินั้น เห็นยมกปาฏิหาริย์ ได้มีศรัทธาจิตแล้ว บวชใน
พระศาสนา ปรารภวิปัสสนา ได้เป็นพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เวลานั้นเราเป็นราชสีห์ พระยาเนื้อมีสกุล เรา
แสวงหาห้วงน้ำแห่งภูเขา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นนายกของโลก จึงดำริว่า พระมหาวีรเจ้าพระ-
องค์นี้ ย่อมยังมหาชนให้ดับเข็ญ อยู่เย็นเป็นสุขได้
ถ้าเช่นนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้ประเสริฐกว่า